วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แกงป่ามะเขือขื่นป่า

แกงป่ามะเขือขื่นป่า เป็นอาหารบ้าน บ้าน อีกชามที่ผู้เขียน จำความได้ก็กินมาตั้งแต่เด็ก ชาวทางภาอีสานเค้ามีความสามารถดัดแปลงมะเขือขื่น ที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อรู้จักเป็นอาหารได้หลายอย่าง ทั้งน้ำพริก แกงลาว หรืออะไรได้อีกมาก แต่ผู้เขียนขอนำเสนอเมนู ที่ผู้เขียนเองกินมาตั้งแต่เด็ก และติดใจในความอร่อยจนมาบัดนี้ ก่อนอื่นเรามารู้จักเจ้ามะเขือขื่นกันก่อน
                                                  มะเขือขื่นป่า
มะเขือขื่นเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มและความสูงประมาณ ๑ เมตร ลักษณะใกล้เคียงกับมะเขือเปราะหรือมะเขือยาว   ลักษณะที่ยังบอกถึงความเป็นมะเขือป่าก็คือ หนามแหลมคมที่มีอยู่มากตามลำต้น กิ่งก้าน ใต้ใบและก้านช่อผล เป็นต้น กลีบดอกสีม่วง เกสรสีเหลือง ผลกลม ผลอ่อนสีเขียวนวล มีเส้นสีเขียวเข้มเป็นลายทั่วผล ผลแก่มีสีเหลือง เนื้อในผลด้านนอก(ติดผิว)มีสีเหลือง  เนื้อด้านใน(ติดเมล็ด)มีสีเขียว มะเขือขื่นสามารถขึ้นเองอยู่ตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี  จะพบขึ้นอยู่ตามป่าที่รกร้างว่างเปล่า ข้างถนนในชนบท ฯลฯ มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและโรคแมลงเป็นพิเศษ รวมทั้งสามารถแพร่พันธุ์ได้โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์
มะเขือขื่นป่า
มะเขือขื่นมีสรรพคุณทางสมุนไพร  ในตำราสรรพคุณสมุนไพร บ่งชี้สรรพคุณของมะเขือขื่นไว้ดังนี้
ผล รสขื่น เป็นยากัดเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้ไข้ สันนิบาต
ราก รสขื่นเอียน เป็นยากระทุ้งพิษ ล้างเสมหะในลำคอ ทำให้น้ำลายน้อยลง แก้น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต

ในชนบทภาคกลาง ใช้ใบปรุงยาบางตำรับร่วมกับใบสมุนไพรชนิดอื่นๆ รากใช้ฝนเป็นกระสายยาแก้เด็กเป็นโรคทรางชัก เนื้อมะเขือขื่นสีเขียวคั้นเอาแต่น้ำใช้หยอดตาไก่ แก้พยาธิในตา 
มะเขือเหลือง

มะเขือขื่นป่า หน้าตาจะคลายๆ มะเขือเหลือง ที่พวกเราเห็นแม่ค้าส้มตำเค้าหั่นใส่เวลาเราสั่งตำปลาร้าหรือตำมั่ว ผิดตรงที่ลูกมะเขือเหลืองจะใหญ่กว่า ไม่มีหนาม ลูกก็ก็ใหญ่ พอๆ กับมะเขือเปาะ บางลูกก็ใหญ่กว่า จะว่าไปก็เอามาแกงแทนกันได้ค่ะแต่ความอร่อยสู้มพเขือขื่นป่าไม่ได้ เพราะมะเขือเหลืองจะนิ่ม และ เละ เวลาแกง เนื้อเค้าก็ไม่มันเหมือนมะเขือขื่น เพราะเนื้อมะเขือขื่นเค้าจะมีความมันเปลือกเค้าจะเหนียวนิดๆ 


เราว่ากันต่อเลย เมื่อเราได้มะเขือขื่นมา เราจะไม่เอาเมล็ด เราเอาแต่ผิวและเนื้อของมะเขือขื่นเท่านั้น จะใช้วิธีปลอกเปลือก หรือ วิธีของพ่อ ของผู้เขียนก็ได้นะค่ะ คือพ่อจะเอามะเขือขื่นใส่ถุงผ้า แล้วจัดการด้วยไม้ทุบลงไปพอให้มะเขือแตก แล้วนำมาตัดขั่วแล้วล้างน้ำเกลือเอาเมล็ดออกให้หมดค่ะ ขยันหน่อยก็ปลอกเอาแต่เนื้อก็ได้ค่ะ นำมาล้างเกลือสัก1ครั้งแล้วล้างน้ำเปล่า ค่ะ 

เวลาเราแกงอาจจะผสมมะเขือเปาะ มะเขือพวง หรือถั่วฝักยาวไปด้วยก็ได้นะค่ะ เวลากินจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด เลย มะเขือเปาะ เค้านิ่ม มีกรอบนิดเพราะเราจะไม่ให้สุกมาก มะเขือพวก เค้าก็มีความนุ่มในแบลูกกลมๆผสมกับน้ำแกง ส่วนถั่วฝักยาวใส่เพิ่มสำหรับเพื่อนๆที่ชอบกินผัก แต่งานนี้เราให้มะเขือขื่นเป็นพระเอก เนื้อเค้าจะนิ่มเวลากินจะออกมันๆนิดๆ เปลือกเค้าจะกรอบปนเหนียวหน่อยเวลา    เคี้ยว  กระชายนี้ขาดไม่ได้เลยสำหรับแกงป่าเพิ่มความหอม และเป็นสมันไพรชั้นดีเลยที่เดียว เพิ่มความร้อนด้วยกะเพรา พริกไทอ่อน สำหรับท่านที่ไม่ชอบเผ็ดก็ไม่ต้องใส่มากเอาแค่พอหอมๆก็ได้ค่ะ แล้วตามด้วยพริกแกงเผ็ดแบบหยาบ  เนื้อสัตย์ที่ใช้ผู้เขียนแนะนำไก่ จะไก่บ้าน หรือไก่ธรรมดาได้ทั้งนั้นค่ะ แต่สำหรับผู้ไท้ทานไก่ จะเป็นหมูสันใน หรือหมูบดก็ได้ค่ะ เข้ากันได้ดี  
ปลาเค็มหลังเขียว
  เราเริ่มจากการเอาพริกแกงลงไปผัดน้ำมันนิดหน่อยในกะทะ พอหอมก็เติมน้ำเปล่า ไม่ต้องมากนะค่ะ เราจะแกงแบบน้ำคลุกคลิกจากนั้นตามด้วยเนื้อไก่ มะเขือขื่น เราเอามะเขือขื่นใส่ก่อนเพราะเค้าจะสุกนานสักนิดถ้าเทียบกับมะเขือเปาะและมะเขือพวงพอเดือดเราก็ใส่มะเขือเปาะ มะเขือพวง และถั่วฝักยาว พอน้ำเริ่มเดือดเรามาปรุงรส ตามใสชอบ ถ้าเป็นสูตรของยาย ผู้เขียนท่านจะใส่น้ำตาลปี๊บ สักครึ่งชอนโต๊ะ เกลือ ครึ่งชอนชา   เมื่อชิมรสได้ที่ก็ใส่กะชาย พริกไทอ่อน ทิ้งพอเดือดก็ใส่         ใบกะเพราแล้วยกลง เท่านี้เป็นอันเสร็จ แกงป่ามะเขื่อขื่น       ผู้เขียนชอบกินมากจะขอให้แม่แกงให้กินบ่อยมาก 
ที่สำคัญ  ผู้เขียนจะกินกับปลาหลังเขียวเค็ม ข้าวสวยร้อนๆ นะค่ะ กลิ่นหอมของเครื่องแกงและสมุนไพรบ้านเรา จานเดียวไม่เคยพอค่ะ 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น