วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แกงใบยอใส่ปลาดุก


แกงใบยอใส่ปลาดุก แม่ของผู้เขียนเรียกแบบนั้น แต่ถ้าทางภาคอีสานน่าจะเรียกอ่อมใบยอนะค่ะ ปกติคนทั่วไปที่ไม่ค่อนเข้าครัวสักเท่าไหร (อย่างเช่นผู้เขียน) จะคิดว่าใบยอน่าจะทำได้แค่ห่อหมกใบยอเท่านั้น จนแม่ผู้เขียนให้ลองกินแกงใบยอใส่ปลาดุก ยอมรับค่ะว่าโดยส่วนตัวผู้เขียนนะชอบทางแกงกะทิ พอแม่เสนอเลยอยากลองกินดูพอได้กิน อืมก็แปลกดีค่ะ อร่อยไปอีกแบบ รสชาดจะออกขมนิดๆ และ หอมกลิ่นใบยอ เนื้อปลาดุกเองก็จะติดกลิ่นใบยอออกขมนิดๆ สำหรับท่านที่ไม่กินต้มจืดมะละคงจะกินแกงใบยอยากอยู่สักหน่อย แต่อย่างโบราณท่านว่า " หวานเป็นลมขมเป็นยา "  ที่นี้เรามาดูส่วนประกอบกันดีกว่าค่ะว่ามีอะไรบ้าง

เริ่มจากพระเอกของเรา ใบยอเลยค่ะ


ใบยอ นับเป็นอาหารสมุนไพรที่เพียงไปด้วยคุณค่าจริง ๆ ใน 

100 มิลลิกรัม มีวิตามินซี 76 มิลลิกรัม มากกว่ามะนาวถึงสอง

เท่า แคลเซี่ยม 350 มิลลิกรัม มากกว่านมสามเท่า นอกจากนั้น

ยังมี วิตามินเอ เหล็กและฟอสฟอรัสในปริมาณสูง


ประโยชน์ทางยาการรับประทานใบยอจะช่วยในการย่อยอาหาร

บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย มีบางท่านนำใบยอที่

ไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไปหั่นตากแดดบดเป็นผงละลายน้ำร้อนดื่ม

ครั้งละสองช้อนกาแฟหรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนกินครั้งละ

สองเม็ด


ผลของยอมีรสเผ็ดร้อนช่วย

ขับลมในลำไส้ แก้คลื่นเหียน

อาเจียนช่วยย่อยอาหาร บำรุงธาตุไฟได้ดีนัก จึงนิยมใช้ทำยารักษา

โรคท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ทั้งผลดิบผลสุก จะนิยมฝานผล

แก่จัดเป็นแว่น ๆ ตากแดดให้แห้ง บดเป็นผงให้ละเอียดละลายน้ำร้อน

กินครั้งละ 2 ช้อนชา หรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนรับประทานครั้ง 

1-2 เม็ดการใช้ผลลูกยอจะมีสรรพคุณที่แรงกว่าใช้ใบกินแล้วผายลมสบายท้องดีจริง ๆ แต่ไม่ยักกะมีใคร

หัวใสทำขาย



ดูสรรพคุณแล้วมีแต่ดีต่อสุขภาพเลยนะค่ะ นิว่าคนโบราณถึงอายุยืน มีสุขภาพแข็งเรง เรามาต่อแกงใบยอกันดีกว่านะค่ะ ตามด้วย ปลาดุก ปลาดุกอุยตัวเคืองๆหน่อย หั่นเป็นแว่นพอคำ ล้างด้วยน้ำเกลือสัก ครึ่งช้อนชาพอให้เหมือกมันออกและดับคาว เพราะปลาน้ำจืดไม่เหมือนปลาทะเล เค้าจะมีกลิ่นคาวแรงกว่า หรือจะล้างน้ำเปล่าก็ได้ค่ะ



จากนั้นก็ตาด้วยน้ำพริกแกงเผ็ด ผู้เขียนก็ยังคงอยากให้ใช้น้ำพริกแกงเผ็ดแบบหยาบแต่สำหนับท่านที่ไม่ค่อยมีเวลาจะใช้เครื่องปั่นช่อวยก็ได้หรือถ้าจะเอาสะดวกหน่อยก็ซื้อตามท้องตลาดเอาก็ได้ค่ะ

กิทิสด จะใช้แบบกล่องก็ได้นะค่ะ แต่ผู้เขียนแนะนำน้ำกะทิคั้นจะได้รสชาดกว่าค่ะ เดี๋ยวนี้ตามตลาดสดเค้ามีบริการคั้นเสร็จแยกกะทิแบบหัวและแยกกะทิแบบหางมาให้ด้วย ส่วนใหญ่ผู้เขียนจะใช้แต่แบบหัวแย่างเดียวค่ะ เพราะแบบหางเราจะใช้สำหรับเวลาเราแกงน้ำเยอะ อย่างแกงเขียวหวาน แต่เราจะแกงใบยอแบบน้ำไม่มากเอาเข้มข้นไว้ก่อน พริกแกงเคี่ยวให้พอเหลืองสีสวยก็เติมกะทิลงไปตามที่เราต้องการแต่น้ำกะทิไม่ต้องเยอะนะค่ะ เราจะแกงน้ำไม่มากเพื่อรวชาติที่เข้มข้นแต่ถ้าท่านใดชอบสดน้ำก็เพิ่มตามใจชอบนะค่ะ คนให้กะทิกับพริกแกงเข้ากันพอเดือดก็ตามด้วยปลาดุก เราไม่ต้องคนมากนะค่ะ ใส่ลงไปแล้วปล่อยให้เดือดแล้วค่อยคนเพราะถ้าเราคนตอนที่ปลายังไม่สุกดีหรือน้ำยังไม่เดือนจะทำให้ปลาคาวค่ะรสชาดแกงเราจะเปลี่ยนไปเลย ยิ่งผู้เขียนแล้วด้วยถ้ามีกลิ่นคาวยอมรับเลยค่ะว่ากินไม่ได้ พอใส่ปลาแล้สน้ำเดือด ก็ปรุงรส ด้วยน้ำตาลบี๊บ เกลือนิดหนึ่ง น้ำปลา  และ มีอย่างหนึ่งค่ะคือทุบพริกไทดำใส่ไปหน่อย จะใส่ก็ได้ไม่ใส่ก็ได้นะค่ะ ใส่พริกไทเพื่อเพิ่มความหอมและเผ็ดร้อนยิ่งขึ้นนะค่ะ คนให้เข้ากันชิมรสตามใจชอบค่ะ 



จากนั้นก็ใส่ใบยอที่เราหั่น เป็นสี่เหลี่ยม อย่างช่น ใบยอ 1 ใบเราก็หั่น ท่าขวางสัก 4 ส่วน แล้วเราก็หั่นท่ายาวอีกครั้งก็จะได้ใบยอรูปสี่เหลี่ยมน่ากิน หรือบางท่านจะหั่นท่าขวางเป็นเส้นๆยาวๆ ก็ได้นะค่ะ บางท่านก็ใช้วิธีฉีกได้หมดค่ะแล้วแต่สะดวกพอใบยอยุบตัวก็คนให้เข้ากับน้ำแกงชิมอีกสักครั้งปรุงรสอีกสักรอบทิ้งไว้สัก 5 นาทีก็ยกลงได้ค่ะ เท่านี้ก็เสร็จแล้วค่ะแกงใบยอ หรือจะเพิ่มความสวยงามด้วยพริกชี้ฟ้าหั่นเฉียงๆโรยหน้า เสริมกับข้าวสวยร้อนๆ ได้น้ำปลาพริกอีกสักถ้วยนะค่ะ หรือจะไข่เจียว เข้ากันได้ดีเลยละค่ะ





















วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แกงคั่วส้มใบมะขามอ่อน


แกงขั่วส้มใบมะขามอ่อน อาหารพื้นบ้านอีกอย่างที่ตอนนี้ตามร้านข้าวแกงต่างมักจะเห็นมีมาวางขายกันทั่วไปผู้เขียนไม่ทราบว่าแบบไหนมาก่อนกันระหว่างใส่หมูกับใส่ปลาเค็มแดดเดียว แต่ที่ผู้เขียนจะนำเสนอเป็นแบบใส่ปลาช่อนแดดเดียว หรือปลานิลแดดเดียว เหตุที่ทำไมต้องแดดเดียว เพราะปลาเค็มแดดเดียวเค้าจะไม่เค้มมาก เวลามาปรุงอาหารรสชาดของน้ำแกงจะเข้าเนื้อปลาได้ดี และ แกงก็ไม่ผิดรสชาดด้วยค่ะ  ซึ่งเราจะไม่ค่อยพบเห็นขายกันสักเท่าไหรอาจเป็นเพราะปลาช่อนมีราคาค่อนข้างสูง พวกเเม่ค้าเลยเอามาทำขายลำบากไม่คุ้ม  ผู้เขียนกินแกงคั่วส้มใบมะขามอ่อนมาตั้งแต่เด็กๆ แม่ชอบแกงให้กินบ่อยมากยิ่งช่วงใบไม่พรินะ อาจเป็นเพราะแค่เดินไป                                                                    
ใบมะขามอ่อน
หลังบ้าน หรือเก็บตามรั่วหน้าบ้านแม่ก็ได้มาแระใบมะขามอ่อนหนึ่งกะละมัง พอแกงได้ หนึ่งหม้อเลย

ใบมะขามอ่อน

ใบมะขามอ่อนถ้านำมาต้มเอาน้ำโขลกศีรษะ แก้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ส่วนใบสดก็นำมาต้มน้อาบหลังสตรีคลอดบุตรใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น เนื่องจากในใบมะขามสดมีรสเปรี้ยวมีกรดหลายชนิดช่วยทำให้ผิวหน้าสะอาดขึ้น


เรามาดูส่วนประกอบในการทำแกงคั่วส้มใบมะขามอ่อนกันดีกว่าค่ะ เริ่มจาก ใบมะขามอ่อน  ถั่วฝักยาว  ปลาช่อนแดดเดียวหรือปลานิลแดดเดียวก็ได้ค่ะ หรือจะเป็นเนื้อหมูสันในพอมีมันติดนิดๆ  ก็ใช่ได้เช่นกันค่ะ  กะทิ พริกแกงส้ม  และ สูตรของแม่ผู้เขียนจะเพิ่มไข่ไก่ 1 ฟอง ค่ะ เพื่อเพิ่มความข้นน่ากินแต่ใครชอบแบบไม่ใส่ไข่ไก่ก็ได้นะค่ะ ส่วน น้ำพริกแกงส้มก็น้ำพริกแกงส้มทั่วไปที่ขายตามท้องตลาดนะค่ะ
เรามาเริ่มเลยนะค่ะ เริ่มจาก เอาน้ำพริกแกงเคี่ยวกับหัวกะทิ  กะทิไม่ต้องเยอะนะค่ะ เราจะเอาพอหอมเมื่อเคี่ยวได้ที่พอให้น้ำมันลอยแล้วเราก็เตอมน้ำกะทิลงไปพอประมาณไม่ต้องเยอะมากนะค่ะเราเติมที่หลังได้ค่ะหากเห็นว่าน้ำแกงเราน้อยไป เพราะถ้าใส่เยอะที่เดียวเวลาใส่ใบมะขามอ่อนกับถั่วฝักยาวแล้วนำ่เยอะจะโหลงเหลงมากแกคั่วส้มเรา จากนั้นก็ หั่นปลาช่อนแดดเดียว เป็นท่อนๆ  เอาชิ้นพอประมาณพอรูปสี่เหลียม ใส่ลงไป ตามด้วยถั่วฝักยาวหั่นเป็นท่อนๆ ปรุงรส น้ำตาลบี๊บ เกลือนิด และน้ำปลา แล้วใส่ใบมะขามอ่อน พอเดือดชิมรสตามที่ต้องการค่ะ จากนั้นก็ใส่ไข่ไก่แล้วคนพอให้ไข่แดงแตกออกเป็นสายสีขาวกับสีเหลืองของไข่แดงไม่ต้องคนมากนะค่ะ เพราะจะไม่สาวและน้ำก็จะค้นเกินไป จากนั้นยกลงได้ค่ะ เราจะไม่เคี่ยวใบมะขามอ่อนนานนะค่ะ เพราะรสเปรี้ยวของใบมะขามอ่อนจะออกมามากเกินไปแกงคั่วส้มเราจะมีรสเปรี้ยวนำมากค่ะ เวลากินผู้เขียนจะมีปลาเค็มกินควบด้วยเข้ากันได้ดีเลยละค่ะ

ผู้เขียนขำได้ตอนช่วงเข้าหน้าหนาว โรคที่เด็กๆทุกคนหรือหลายๆคนต้องเป็นคือ โรคอีสุกอีใส ผู้เขียนเองก็เป็นด้วยช่วงนั้น ตอนที่ป็นโรคนี้ผู้เขียนจำได้เลยว่าโดนห้ามเรื่องอาหารทุกอย่าง ไม่ให้กินของทอด เนื้อหมูก็ห้าม ไข่ก็ห้าม ห้ามกินหวาน เพราะจะทำให้แผลหายช้า         น้ำเปล่ายังห้าม ช่วงนั้นแม่ของผู้เขียนให้กินต้มใบมะขามอ่อนกับกุ้งแห้ง กินทุกวัน 3 มื้อ กับ น้ำสาวข้าวผสมกับยาเขียวตราใบห่อให้กินแทนน้ำเปล่ากันเลยที่เดียวอยู่ประมาณ 1 เดือนได้ ทรมานสุดๆ แต่แม่บอกว่า ใบมะขามอ่อนเป็นยาช่วยขับพิษ อีสุกอีใสได้อีกแรงนอกจากยาเขียว ลดอาการอักเสบของแผล และลดไข้ได้ ผู้เขียนก็ทำตามที่แม่บอกพอกายดีที่จะไปโรงเรียนได้ ก็ยังกินอยู่ แต่ก็มีสลับกับอย่างอื่นบ้าง แล้วพอหายดีหลังจากนั้นผู้เขียนไม่กินอะไรก็ตามที่ทำจากใบมะขามอ่อนไปเกือบปี ทั้งๆที่ใจจริงชอบแกงคั่วส้มใบมะขามอ่อนมาก

ต้มใบมะขามอ่อน
สำหรับท่านที่อยากได้สูตรต้มใบมะขามอ่อน ของแม่ผู้เขียน เป็นสูตรง่ายๆ ตามประสาชาวบ้านนอกนะค่ะ แต่ช่วงเป็นอีสุกอีใส ใช้ได้ดีที่เดียวค่ะ ผิวไม่เป็นแผลเป็นและแผลแห้งเร็วมากไม่แน่ใจว่าเกี่ยวไหมนะค่ะ แต่เทียบกับเพื่อนๆของผู้เขียนที่เป็นกันในขณะนั้น ผู้เขียนฝื้นตัวเร็วมากกว่าคนอื่นทั้งแผล และ ไม่มีไข้ นอนซมเหมือนคนอื่นเค้านะค่ะมี ใบมะขามอ่อน  กุ้งแห้ง หัสหอมไทย กะปิ  เริ่มจากตำกะปิกับหัวหอมไม่ต้องละเอียดมากนะค่ะเอาแค่พอแตกและเข้ากัน ตั้งไฟ พอน้ำเดือด ก็ใส่กะปิที่ตำกับหัวหอม ใส่ลงไปคนให้ละลายพอเดือดก็ใส่กุ้งแห้งแล้วตามด้วยใบมะขามอ่อน พอเดือก็ยกลง ไม่ต้องทิ้งไว้นานนะค่ะเพราะจะเปรี้ยวมาก แกงคั่วส้มใบมะขาม หรือ ต้มใบมะขาม หากเราต้องอ่นซ้ำ เวลาอุ่นแกงคั่วส้มให้เติมกะทิไปนิกหนึ่งเพราะแกงคั่วส้มยิ่งอุ่นความเปรี้ยวของใบมะขามจะออกมามาก ทางที่ทีเวลาแกงก็แกงพอกินพอมื้อจะดีกว่า ส่วนต้มใบมะขามเวลาอุ่นก็เติมน้ำ ลงไปไม่ต้องมากค่ะ


เท่านี้เป็นเรียบร้อยค่ะสำหรับเมนูใบมะขามอ่อนค่ะ

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อิ่มสบาย ตามสไตล์ บ้าน บ้าน: อิ่มสบาย ตามสไตล์ บ้าน บ้าน: แกงเห็ด บ้าน บ้าน

อิ่มสบาย ตามสไตล์ บ้าน บ้าน: อิ่มสบาย ตามสไตล์ บ้าน บ้าน: แกงเห็ด บ้าน บ้าน: อิ่มสบาย ตามสไตล์ บ้าน บ้าน: แกงเห็ด บ้าน บ้าน : เรามาประเดิมอาหารจานแรกด้วยอาหารบ้านๆ กันด้วย แกงเห็ดใส่ผักหวาน ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกั...

แกงป่ามะเขือขื่นป่า

แกงป่ามะเขือขื่นป่า เป็นอาหารบ้าน บ้าน อีกชามที่ผู้เขียน จำความได้ก็กินมาตั้งแต่เด็ก ชาวทางภาอีสานเค้ามีความสามารถดัดแปลงมะเขือขื่น ที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อรู้จักเป็นอาหารได้หลายอย่าง ทั้งน้ำพริก แกงลาว หรืออะไรได้อีกมาก แต่ผู้เขียนขอนำเสนอเมนู ที่ผู้เขียนเองกินมาตั้งแต่เด็ก และติดใจในความอร่อยจนมาบัดนี้ ก่อนอื่นเรามารู้จักเจ้ามะเขือขื่นกันก่อน
                                                  มะเขือขื่นป่า
มะเขือขื่นเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มและความสูงประมาณ ๑ เมตร ลักษณะใกล้เคียงกับมะเขือเปราะหรือมะเขือยาว   ลักษณะที่ยังบอกถึงความเป็นมะเขือป่าก็คือ หนามแหลมคมที่มีอยู่มากตามลำต้น กิ่งก้าน ใต้ใบและก้านช่อผล เป็นต้น กลีบดอกสีม่วง เกสรสีเหลือง ผลกลม ผลอ่อนสีเขียวนวล มีเส้นสีเขียวเข้มเป็นลายทั่วผล ผลแก่มีสีเหลือง เนื้อในผลด้านนอก(ติดผิว)มีสีเหลือง  เนื้อด้านใน(ติดเมล็ด)มีสีเขียว มะเขือขื่นสามารถขึ้นเองอยู่ตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี  จะพบขึ้นอยู่ตามป่าที่รกร้างว่างเปล่า ข้างถนนในชนบท ฯลฯ มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและโรคแมลงเป็นพิเศษ รวมทั้งสามารถแพร่พันธุ์ได้โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์
มะเขือขื่นป่า
มะเขือขื่นมีสรรพคุณทางสมุนไพร  ในตำราสรรพคุณสมุนไพร บ่งชี้สรรพคุณของมะเขือขื่นไว้ดังนี้
ผล รสขื่น เป็นยากัดเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้ไข้ สันนิบาต
ราก รสขื่นเอียน เป็นยากระทุ้งพิษ ล้างเสมหะในลำคอ ทำให้น้ำลายน้อยลง แก้น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต

ในชนบทภาคกลาง ใช้ใบปรุงยาบางตำรับร่วมกับใบสมุนไพรชนิดอื่นๆ รากใช้ฝนเป็นกระสายยาแก้เด็กเป็นโรคทรางชัก เนื้อมะเขือขื่นสีเขียวคั้นเอาแต่น้ำใช้หยอดตาไก่ แก้พยาธิในตา 
มะเขือเหลือง

มะเขือขื่นป่า หน้าตาจะคลายๆ มะเขือเหลือง ที่พวกเราเห็นแม่ค้าส้มตำเค้าหั่นใส่เวลาเราสั่งตำปลาร้าหรือตำมั่ว ผิดตรงที่ลูกมะเขือเหลืองจะใหญ่กว่า ไม่มีหนาม ลูกก็ก็ใหญ่ พอๆ กับมะเขือเปาะ บางลูกก็ใหญ่กว่า จะว่าไปก็เอามาแกงแทนกันได้ค่ะแต่ความอร่อยสู้มพเขือขื่นป่าไม่ได้ เพราะมะเขือเหลืองจะนิ่ม และ เละ เวลาแกง เนื้อเค้าก็ไม่มันเหมือนมะเขือขื่น เพราะเนื้อมะเขือขื่นเค้าจะมีความมันเปลือกเค้าจะเหนียวนิดๆ 


เราว่ากันต่อเลย เมื่อเราได้มะเขือขื่นมา เราจะไม่เอาเมล็ด เราเอาแต่ผิวและเนื้อของมะเขือขื่นเท่านั้น จะใช้วิธีปลอกเปลือก หรือ วิธีของพ่อ ของผู้เขียนก็ได้นะค่ะ คือพ่อจะเอามะเขือขื่นใส่ถุงผ้า แล้วจัดการด้วยไม้ทุบลงไปพอให้มะเขือแตก แล้วนำมาตัดขั่วแล้วล้างน้ำเกลือเอาเมล็ดออกให้หมดค่ะ ขยันหน่อยก็ปลอกเอาแต่เนื้อก็ได้ค่ะ นำมาล้างเกลือสัก1ครั้งแล้วล้างน้ำเปล่า ค่ะ 

เวลาเราแกงอาจจะผสมมะเขือเปาะ มะเขือพวง หรือถั่วฝักยาวไปด้วยก็ได้นะค่ะ เวลากินจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด เลย มะเขือเปาะ เค้านิ่ม มีกรอบนิดเพราะเราจะไม่ให้สุกมาก มะเขือพวก เค้าก็มีความนุ่มในแบลูกกลมๆผสมกับน้ำแกง ส่วนถั่วฝักยาวใส่เพิ่มสำหรับเพื่อนๆที่ชอบกินผัก แต่งานนี้เราให้มะเขือขื่นเป็นพระเอก เนื้อเค้าจะนิ่มเวลากินจะออกมันๆนิดๆ เปลือกเค้าจะกรอบปนเหนียวหน่อยเวลา    เคี้ยว  กระชายนี้ขาดไม่ได้เลยสำหรับแกงป่าเพิ่มความหอม และเป็นสมันไพรชั้นดีเลยที่เดียว เพิ่มความร้อนด้วยกะเพรา พริกไทอ่อน สำหรับท่านที่ไม่ชอบเผ็ดก็ไม่ต้องใส่มากเอาแค่พอหอมๆก็ได้ค่ะ แล้วตามด้วยพริกแกงเผ็ดแบบหยาบ  เนื้อสัตย์ที่ใช้ผู้เขียนแนะนำไก่ จะไก่บ้าน หรือไก่ธรรมดาได้ทั้งนั้นค่ะ แต่สำหรับผู้ไท้ทานไก่ จะเป็นหมูสันใน หรือหมูบดก็ได้ค่ะ เข้ากันได้ดี  
ปลาเค็มหลังเขียว
  เราเริ่มจากการเอาพริกแกงลงไปผัดน้ำมันนิดหน่อยในกะทะ พอหอมก็เติมน้ำเปล่า ไม่ต้องมากนะค่ะ เราจะแกงแบบน้ำคลุกคลิกจากนั้นตามด้วยเนื้อไก่ มะเขือขื่น เราเอามะเขือขื่นใส่ก่อนเพราะเค้าจะสุกนานสักนิดถ้าเทียบกับมะเขือเปาะและมะเขือพวงพอเดือดเราก็ใส่มะเขือเปาะ มะเขือพวง และถั่วฝักยาว พอน้ำเริ่มเดือดเรามาปรุงรส ตามใสชอบ ถ้าเป็นสูตรของยาย ผู้เขียนท่านจะใส่น้ำตาลปี๊บ สักครึ่งชอนโต๊ะ เกลือ ครึ่งชอนชา   เมื่อชิมรสได้ที่ก็ใส่กะชาย พริกไทอ่อน ทิ้งพอเดือดก็ใส่         ใบกะเพราแล้วยกลง เท่านี้เป็นอันเสร็จ แกงป่ามะเขื่อขื่น       ผู้เขียนชอบกินมากจะขอให้แม่แกงให้กินบ่อยมาก 
ที่สำคัญ  ผู้เขียนจะกินกับปลาหลังเขียวเค็ม ข้าวสวยร้อนๆ นะค่ะ กลิ่นหอมของเครื่องแกงและสมุนไพรบ้านเรา จานเดียวไม่เคยพอค่ะ 




อิ่มสบาย ตามสไตล์ บ้าน บ้าน: อิ่มสบาย ตามสไตล์ บ้าน บ้าน: แกงเห็ดเผาะ อาหารตามฤ...

อิ่มสบาย ตามสไตล์ บ้าน บ้าน: อิ่มสบาย ตามสไตล์ บ้าน บ้าน: แกงเห็ดเผาะ อาหารตามฤ...: อิ่มสบาย ตามสไตล์ บ้าน บ้าน: แกงเห็ดเผาะ อาหารตามฤดูกาล : แกงเห็ดเผาะ อาหารอีกอย่างทางภาคอีสานบ้านเรา ซึ่งจะหากินได้แบบสดๆได้เพียงปีละครั้ง ...

อิ่มสบาย ตามสไตล์ บ้าน บ้าน: แกงเห็ด บ้าน บ้าน

อิ่มสบาย ตามสไตล์ บ้าน บ้าน: แกงเห็ด บ้าน บ้าน: เรามาประเดิมอาหารจานแรกด้วยอาหารบ้านๆ กันด้วย แกงเห็ดใส่ผักหวาน ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันมากของชาวกรุงเทพ เพราะ ไม่ว่าจะขึ้นห้าง หรือข...

อิ่มสบาย ตามสไตล์ บ้าน บ้าน: แกงเห็ดเผาะ อาหารตามฤดูกาล

อิ่มสบาย ตามสไตล์ บ้าน บ้าน: แกงเห็ดเผาะ อาหารตามฤดูกาล: แกงเห็ดเผาะ อาหารอีกอย่างทางภาคอีสานบ้านเรา ซึ่งจะหากินได้แบบสดๆได้เพียงปีละครั้ง ค่ะ คือช่วงหน้าฝน สำหรับท่านที่ไม่เคยกินอาจจะดูแปลก การ...

แกงเห็ดเผาะ อาหารตามฤดูกาล

แกงเห็ดเผาะ อาหารอีกอย่างทางภาคอีสานบ้านเรา ซึ่งจะหากินได้แบบสดๆได้เพียงปีละครั้ง ค่ะ คือช่วงหน้าฝน สำหรับท่านที่ไม่เคยกินอาจจะดูแปลก การแกงเห็ดเผาะนั้น มีหลากหลาย แต่ผู้เขียนขอนำเสนอการแกง กึ่งภาคกลางนิดๆ แกงคั่วเห็ดเผาะ  อย่างแรกก็ต้องพระเอกของเรา  ก็เจ้าเห็ดเผาะ หน้าตาออกจะไม่น่ากินสักหน่อย แต่ความกรอบ และมันของเค้าใช่ได้เลยที่เดียวค่ะเ

เห็ดเผาะ
เห็ดเผาะ เป็นเห็นที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่แปลกใจที่จะมีแค่ปีละครั้ง แต่ถ้าหากอยากเก็บไว้กินนอกฤดู เราก็มักจะเอาไปต้มให้สุก บางบ้านก็แช่น้ำเกลือ แต่สำหรับผู้เขียนแนะนำ นะค่ะ ต้มแล้วเอาน้ำออกแช่ช่องฟรีซ เลยค่ะ จะอยู่ได้นานและรสชาติจะไม่ค่อยเปลี่ยนเท่าไหรค่ะ หากคุณได้เห็ดเผาะตามท้องตลาดที่เค้าขายกัน บ้างร้านก็อาจล้างดินที่เกาะเห็ดมาบางร้านก็อาจจะไม่ล้างแล้วแต่ร้าน ไม่ต้องตกใจนะค่ะ เพราะโดนธรรมชาติของเค้าจะขึ้นในดินเวลาไปเก็บก็จะต้องไปขุดจากดินแต่เค้าอยู่ไม่ลึกมากค่ะ พอให้เรามองเห็นและเก็บได้ค่ะ เราได้เห็นมาก็ทำการล้างดินที่เกาะออกให้สะอาดสัก2-3 น้ำก็ได้ค่ะ จากนั้นเราก็ทำการผ่าซีกออกเป็น 2 ส่วนเพื่อสะดวกแกการกินนะค่ะ ข้างในเค้า ถ้าเป็นลูกอ่อน เนื้อข้างในจะคลายๆไข่ตุ๋น เต็มลูก ถ้าแก่มานิดก็จะออกเป็นสีดำ ไม่เต็มลูกสักเท่าไหร่ ส่วนเปลือกที่คุมของเห็ดเผาะนั้น เค้าจะมีความกรอบยิ่งอ่อนยิ่งกรอบ ถ้าแก่มากๆ ก็จะเหนียวมากค่ะเวลาซื้อส่วนใหญ่แม่ค้าเค้าจะไม่ให้เราเลือกสังเกตง่ายไค่ะ ลูกสีดำเข้มจะแกส่วนลูกสีขาวออกน้ำตาลยังอ่อนอยู่ค่ะ
ใบชะพลู กับ ยอดชะอม

เรามาดูพระเอกต่อไปค่ะ ก็ มีชะอม สำหรับท่านที่ไม่ค่อยชอบกลิ่นชะอมสักเท่าไหรไม่ต้องใส่ก็ได้ค่ะ และตามด้วใบชะพลู กะทิสด และเครื่องแกงเผ็ด หากใครอยากจะใส่เนื้อสัตย์ ผู้เขียนแนะนำ หมูย่าง หมูสับหรือ เนื้อไก่สด จะดีมากค่ะ อร่อยไปอีกแบบ และที่ขาดไม่ได้ก็พริกแกงเผ็ด จะตำเองหรือหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไปก็ได้ค่ะ แต่ถ้าหาซื้อผู้เขียนแนะนำให้ซื้อพริกแกงเผ็ดแบบหยาบนะค่ะ
 แต่ถ้าหากอยากจะทำเองก็ได้นะค่ะ เราชอบอะไรไม่อยากใส่อะไรก็ตามใจชอบเราได้ค่ะ เครื่องแกงที่จะทำพริกแกงเผ็ด ห็มี พริกแห้ง ผู้เขียนแนะนำให้ใส่พริกสดผสมไปนิดจะได้กลิ่นหอมของพริก แต่ไม่ต้องมากสำหรับผู้ที่ไม่ทานเผ็ดนะค่ะ มีกะเทียม  หัวหอม ตะไคร้ ข่าอ่อน ผิวมะกูด และบางท่านจะใส่ก็ได้ไม่ใส่ก็ได้ก็กะชายค่ะ ตามด้วยกะปิ  และเกลือนิดหนึ่งค่ะ เครื่องแกงทุกอย่างล้วนเป็นสมุนไพรทั้งนั้นค่ะ
เมื่อเราได้ทุกอย่างมาก็เอากะทิมาเคี่ยวพอให้แตกมัน แล้วจึงเอาพริกแกงลงไปเคี่ยวต่อ กะที่ตอนเคี่ยวไม่ต้องเยอะนะค่ะ เอาพอประมาณเพราะเราเติมได้ค่ะ เมื่อเคี่ยวพริกแกงกับกะทิ พอให้มีน้ำมันลอบแล้วเราก็เติมกะทิอีกสักหน่อยเราจะแกงแบบน้ำคลุกคลิกค่ะ พอกะทิเดือดเราก็ใส่เห็ด แต่ขั้นตอนนี้หากใครมราจะใส่เนื้อสัตย์ก็ใส่ก่อนเห็ดนะค่ะ ให้เนื้อสัตย์พอสุกแล้วใส่เห็ดค่ะ ทิ้งไว้สัก 5-10 นาที ปรุงรสตามใจชอบค่ะ น้ำตาล น้ำปลา ส่วนใหญ่จะหวานกะทิอยู่แล้ว จากนั้นก็ตามด้วยชะอมทิ้งไว่สัก 2 นาที ก่อนยกลง ก็ใส่ใบชะพลูก็ยกลงได้ค่ะ เสร็จแล้วแกงเห็ดเผาะ ได้ข้าวสวยร้อนๆนะค่ะ อร่อยอย่าบอกใครนะค่ะ

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แกงเห็ด บ้าน บ้าน

เรามาประเดิมอาหารจานแรกด้วยอาหารบ้านๆ กันด้วย แกงเห็ดใส่ผักหวาน ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันมากของชาวกรุงเทพ เพราะ ไม่ว่าจะขึ้นห้าง หรือข้างถนน ตามรถเข็น ตอนนี้ มีขายกันมากขึ้น อาจเป็นเพราะคนเริ่มสนใจรักสุขภาพทานเนื้อสัตย์กันน้อยลง จะพูดไปก็เป็อาการสุขภาพจริง 
ผักหวานบ้าน
 อย่างผักหวานที่เค้านิยมและหาซื้อง่ายตามท้องตลาดก็ ผักหวานบ้าน ส่วนผักหวานป่าจะหายากอยู่สักหน่อยต้นใหญ่ ต่างจากผักหวานบ้านออกจะเป็นพื้ชล้มลุกต้นไม่ให่ หน้าตาก็คลายๆกัน

ผักหวานบ้านที่เรานิยมนำมาแกงเห็ด

มีสรรพคุณทางยาเป็นสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ในใบมีสาร papaverine กินมากจะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ท้องผูก นอกจากนี้ทั้งใบและต้น มีรสหวานเย็น และน้ำยางจากต้นและใบ ใช้หยอดตา แก้ตาอักเสบ ตำผสมกับรากอบเชยเป็นยาพอก รักษาแผลในจมูก ผสมกับสารหนูใช้ทาแก้โรคผิวหนังติดเชื้อ ใบและราก ตำให้ละเอียดใช้พอกฝี ราก รสเย็น ต้มเป็นยาแก้ไข้ ถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน แก้ไข้กลับ แก้ซาง แก้ปัสสาวะขัด ผิดสำแดง รักษาคางทูม สารสกัดใบและลำต้นด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 reverse transcriptase เล็กน้อย ไม่มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งในหนูทดลอง ในยาพื้นบ้านล้านนา ใช้รากต้มน้ำดื่ม แก้โรคมะเร็งคุด ผสมกับสมุนไพรอื่น ฝนน้ำผสมข้าวเจ้า แก้ผิดเดือน ฝนทารักษาโรคมะเร็ง ที่มีอาการเจ็บ ร้อน ไหม้ ร่วมด้วย ฝนใส่ข้าวเจ้ากินรักษาโรคเลือดลมในชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง มูเซอ ใช้ ใบทั้งต้นต้มน้ำอาบ ละเคี้ยวกินแก้ปวดเมื่อยร่างกาย เป็นยาบำรุงสุขภาพสำหรับหญิงหลังคลอด

ผักหวานบ้าน มีคุณค่าทางโภชนาการมากมายมีสารอาหารหลายชนิด ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และแร่ธาตุที่มีประโยชน์ ต่อร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินซี มีเบต้า-แคโรทีน สารต้านมะเร็งเป็นตัวนำ ตามด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัสเพื่อกระดูกแข็งแรง ต่อด้วยแมกนีเซียมช่วยในการยืดหดของกล้ามเนื้ออีกด้วย

ที่นี้เรามาพูดถึงเจ้าเห็ดกัน ที่ตามท้องตลาดที่เราเห็นกันนั้นนำมาทำได้หมดแต่ความแตกต่างก็จะต่างกัน
อย่างเห็ดฟาง เวลาแกงอย่าต้มนานเพราะจะแระและไม่อร่อยเท่าไหร่ 
เห็ดฟาง
ส่วนเห็ดลม เค้าจะมีความเหนียว นิด ต้องเคี่ยวนานนิดหนึ่งแต่อร่อยไปอีกแบบ และ สุดท้ายที่เค้านิยมนำมาแกงเห็ดกัน ก็เห็ดผึ้ง ซึ่งจะมีความเหนียวน้อยกว่าเห็ดลมมีความนุ่ใกว่าเห็ดฟาง แต่หน้าตาออกจะดูไม่น่ากินสักหน่อย
เห็ดลม

เห็ดผึ้ง
แต่ปัจจุบันก็มีการผสมเห็ดต่างๆตามแต่สะดวกที่หาซื้อกันมาใส่ก็ได้รสชาดไปหลายๆแบบตามชนิดของเห็ด





ที่นี้เรามาดูเรื่องของน้ำสีดำๆ ที่ใส่ในแกงเห็ดกัน สีของมันออกจะไม่ค่อยน่ากินสักเท่าไหรสำหรับผู่ที่ไม่เคบกินก็คงสงสัยว่าเค้าใส่อะไรทำไม่น้ำมันถีงสีนี้  ตอบเลยละกันเค้าใส่น้ำใบย่านางคั้นจนเป็นสีเขียว อันนี้ขอบอกเลย น้ําคลอโรฟิลล์ ชั้นดีเลยนะค่ะ

ใบย่านาง

ตอนนี้ได้กลายมาเป็นสมุนไพรสุดฮิต ที่มีคุณสมบัติปรับสมดุลในร่างกาย เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น และเป็นคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ  ใบย่านางและน้ำคั้นจากใบยังมีแคลเซียมและวิตามินซีจำพวก เอ, บี 1, บี 2 และ เบต้า-แคโรทีน ค่อนข้างสูง คนโบราณเชื่อกันว่ารากของเถาย่านางนั้นสามารถแก้ไขได้ อีกทั้งยังช่วยถอนพิษผิดสำแดงและพิษอื่น ๆ แก้เมาเรือ แก้เมาสุรา แก้โรคหัวใจและแก้ลม ใบก็ช่วยถอนพิษและแก้ไข้  ปัจจุบันคนหันมาดื่มน้ำใบย่านางกันมาก มีทั้งแคปสูนขายก็มี

จากนั้นก็มาถึงเครื่องแกงก็ไม่มีอะไรมาก  ก็มีพริก จะพริกสดกรือพริกแห้งก็ได้ ส่วนใหญ่ที่นิยมคือพริกสด  หอมกะเทียม ตะไคร้ นำมาตำรวมกัน ถ้าเพิ่มกะปิก็จะคล้ายๆแกงเลียง แต่เราไม่ใส่กะปิเพราะแกงเห็ดในแบบฉบับของทางอีสานนั้นเค้าใส่น้ำปลาร้า หากใครไม่กินก็ไม่ต้องใส่ใช้กะปิแทนก็ได้

เท่านี้เราก็ได้แกงเห็ดแสนอร่อยตามแบบฉบับชาวบ้านแต่มากด้วยคุณค่าคุณประโยชน์ ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมคนรุ่นปู่ย่าตายายเราถึงแข็งแรง เพราะเค้ากินอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าที่หาได้ตามแถวบ้านเรานี้เอง